เกี่ยวกับเรา บริการ RDAP

Registration Data Access Protocol (RDAP) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานที่กำหนดโดย Internet Engineering Task Force (IETF) เป็นการพัฒนาเพื่อทดแทนโปรโตคอล WHOIS เดิม ทั้งนี้ RDAP ยังคงเป็นการให้บริการสืบค้นข้อมูลทรัพยากรอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ เช่น โดเมน, ผู้ติดต่อ, โฮสต์, Registrars จากระบบ Registry โดยผ่าน HTTPS ซึ่งเป็นการยกระดับความปลอดภัย นอกจากนี้ RDAP ยังมุ่งเน้นสร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน โดยสร้างผลลัพธ์เป็นไฟล์ประเภท JSON ทำให้ง่ายต่อการพัฒนาการสืบค้นข้อมูลในลักษณะ machine-to-machine ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรโตคอล RDAP สามารถศึกษาได้จาก https://www.icann.org/rdap


นโยบายการเข้าถึง .scb RDAP

.scb RDAP เปิดให้ทุกคนสามารถเข้ามาสืบค้นข้อมูลได้ แต่ข้อมูลบางส่วนจะมีการปกปิดไว้เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและกฎหมายรักษาความเป็นส่วนตัว ทั้งนี้ผู้ที่แสดงสิทธิ์ตามกฎหมายต่อข้อมูลชุดใดชุดหนึ่งหรือโดเมนใดโดเมนหนึ่ง สามารถส่งคำขอผ่าน RDDS request form เพื่อสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนที่มีการปกปิดไว้ได้ ทั้งนี้ผู้ใช้งานต้องทำความเข้าใจและยอมรับ นโยบายการเข้าถึง .scb RDAP ต่อไปนี้


นโยบายการเข้าถึง .th RDAP

.th RDAP เปิดให้ทุกคนสามารถเข้ามาสืบค้นข้อมูลได้ แต่ข้อมูลบางส่วนจะมีการปกปิดไว้เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและกฎหมายรักษาความเป็นส่วนตัว ทั้งนี้ผู้ที่แสดงสิทธิ์ตามกฎหมายต่อข้อมูลชุดใดชุดหนึ่งหรือโดเมนใดโดเมนหนึ่ง สามารถส่งคำขอผ่าน RDDS request form เพื่อสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนที่มีการปกปิดไว้ได้ ทั้งนี้ผู้ใช้งานต้องทำความเข้าใจและยอมรับ นโยบายการเข้าถึง .th RDAP ต่อไปนี้


คำถามที่พบบ่อย
  1. RDAP คืออะไร
    RDAP ย่อมาจาก Registration Data Access Protocol เป็นวิธีการสืบค้นข้อมูลทะเบียนโดเมนซึ่งถูกพัฒนาโดยคณะทำงานด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF: Internet Engineering Task Force) เพื่อจะทดแทนบริการ WHOIS โดยรายละเอียดของ RDAP ระบุอยู่ใน RFC ดังต่อไปนี้ 7480 7481 7482 7483 และ 7484

  2. RDAP ต่างจาก Whois อย่างไร
    RDAP เป็นโปรโตคอลแบบ HTTP-based และตอบผลการสืบค้นในรูปแบบ JSON มาตรฐาน ซึ่งเหมาะสมที่จะใช้สื่อสารระหว่างโปรแกรม (Machine-readable) ในขณะที่ WHOIS เป็นโปรโตคอลแบบ Text-based และไม่มีมาตรฐานของรูปแบบของข้อมูล ทำให้การติดต่อกับแต่ละ Registry มีความแตกต่างกัน รวมถึง WHOISไม่รองรับกระบวนการหลายอย่าง เช่น ข้อมูลและโดเมนที่เป็นภาษาท้องถิ่น และการให้สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลให้กับผู้ที่มีระดับการเข้าถึงความเป็นส่วนตัวที่ต่างกัน

  3. หากจะใช้งาน จะต้องมี RDAP Client หรือไม่
    ปัจจุบันมี RDAP Client หลายตัวที่เปิดให้นำมาใช้งานได้ แต่ความจำเป็นในการใช้ RDAP Client ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและความต้องการในการใช้งานของผู้ใช้งาน

  4. Bootstrapping คืออะไร
    บริการ IANA Bootstrap Service Registry เป็นบริการของ IANA ที่ให้สามารถดาวน์โหลดไฟล์ bootstrap ที่ประกอบไปด้วยรายชื่อ Authoritative Servers สำหรับการสืบค้นข้อมูลด้วย RDAP

  5. ไฟล์ Bootstrap คืออะไร
    ไฟล์ Bootstrap เป็นไฟล์รูปแบบ JSON ซึ่งถูกกำหนดไว้ใน RFC7484 โดย IANA ได้เปิดให้ดาวน์โหลดเป็น Bootstrap Service Registry ส่วนของ Domain Name Space เช่นเดียวกับที่เปิดให้ดาวน์โหลดของ IPv4 Address Space, IPv6 Address Space และ AS Number Space

  6. จะเริ่มสืบค้นข้อมูลอย่างไร
    การสืบค้นผ่าน RDAP จะมีลักษณะ {Service Host}/{Query} โดย {Service Host} หมายถึงชื่อเครื่องที่เป็นเครื่องแม่ข่าย RDAP ของแต่ละ Registry และ {Query} หมายถึง คำสืบค้นที่ผู้ใช้ต้องการส่ง ตัวอย่างเช่น ต้องการสืบค้นทะเบียนโดเมน "nic.scb” ผ่านเครื่องแม่ข่าย RDAP ของ .scb จะส่งคำสั่งค้นผ่าน URL ว่า https://rdap.nic.scb/domain/nic.scb และ "thains.co.th" ผ่านเครื่องแม่ข่าย RDAP ของ .th จะส่งคำสั่งค้นผ่าน URL ว่า https://rdap.thains.co.th/domain/thains.co.th เป็นต้น

  7. ICANN Operational Profile คืออะไร
    Operational Profile ถูกกำหนดโดย ICANN เพื่อให้ทุก Registry ให้บริการ RDAP อยู่บนมาตรฐานเดียวกัน โดย RDAP สำหรับ .scb และ .th ซึ่งให้บริการโดย ThaiNS ดำเนินการตาม Operational Profile ของ ICANN ดังกล่าว สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก https://www.icann.org/rdap.